2 minute read

“…it’s important to realize that the produce we pluck from the supermarket may not be as nutrient-rich as it once was.”

Greenhouse Image

เราอาศัยอยู่บนโลกที่อาหารมีความหวานและสารปรุงแต่งรสชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โปรตีนและใยอาหารที่มีอยู่ในอาหารลดน้อยลง น้ำตาลและคาร์บเพิ่มมากขึ้น อาหารแปรรูปที่มีอยู่มากมายนั้นเรามักจะได้พลังงานจากไขมันและคาร์บเป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริงร่างกายของเราต้องการ โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ที่เหมาะสมในการทำงาน

ซึ่งดูเหมือนว่า แนวทางที่ช่วยได้ คือ การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ เราได้ยินมานานว่า การรับประทานผักและผลไม้สำคัญแค่ไหน เพราะเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งช่วยให้สุขภาพดี และลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งผักและผลไม้นั้นมีความจำเป็นต่อสุขภาพที่ดี แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ผลิตภัณฑ์ที่เราได้จากซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้น อาจมีสารอาหารไม่ครบถ้วนเหมือนแต่ก่อน

คาร์บอนไดออกไซด์

ในปี 1998 นักวิทยาศาตร์ได้ทำการศึกษาแพลงก์ตอนสัตว์ และต้องประหลาดใจที่พบว่า พวกเขาสามารถทำให้สาหร่าย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของแพลงตอนสัตว์ เติบโตได้อย่างรวดเร็วถ้าให้มันได้รับแสงมากขึ้น การได้รับแสงมากขึ้นจะทำให้พืชเติบโตเร็ว แต่มันเป็นขั้นตอนที่ได้ผลลัพธ์มาโดยไม่ได้ตั้งใจ การลดลงของสารอาหาร สาหร่ายก็เปรียบเหมือนมันฝรั่งทอด อาหารขยะสำหรับมนุษย์ แพลงตอนสัตว์เริ่มตายไป การค้นพบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ มีคำถามว่า คาร์บอนไดออกไซด์มากเพียงใด ที่จะมีผลกับพืชและอาหารของมนุษย์

การศึกษาค้นคว้าแนะนำว่า ปริมาณโปรตีนที่รับประทานก็มีความเสี่ยง โดยเฉพาะคนที่รับประทานอาหารประเภทพืช เนื่องจากปริมาณที่มากขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ และปริมาณที่ลดน้อยลงของโปรตีน ผักและเมล็ดพืช บ่งบอกถึงปริมาณสังกะสีและธาตุเหล็กที่ลดลง ภายใต้คาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้นขึ้น สรุปคือ การค้นคว้านี้ ให้ผลตรงกันว่า แร่ธาตุจากอาหารที่เรารับประทานลดลงเฉลี่ยถึง 8 %

มลพิษอื่นๆ

เช่นเดียวกับควันที่เป็นพิษต่อปอดของเรา และเป็นมลพิษกับพืชด้วยเช่นกัน มลภาวะทางอากาศสามารถทำอันตรายต่อพืชได้ โดยซึมผ่านทางใบ หรือทางอ้อมโดยทำให้ดินเป็นกรด มลพิษทำให้โอกาสการในการอยู่รอดของพืชลดลง เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา และทำให้เกิดความเสียหายได้

หนึ่งในผลลัพธ์ทางลบที่สำคัญคือ การลดลงของปริมาณน้ำตาลที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสิ่งมีชีวิต ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระดับน้ำตาลที่ละลายน้ำได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกพื้นที่ ที่มีการทดสอบมลพิษ

การทำฟาร์ม

เทคนิคการทำฟาร์มและการเพาะปลูกพืชผลก็มีผลกระทบที่ต่างจากผักและผลไม้ ตัวอย่างเช่น ข้าวโพดในยุคเริ่มแรกที่มีความแตกต่างจากข้าวโพดหวานซึ่งเป็นเครื่องเคียงที่คนนิยมสำหรับปิคนิกและมื้อเย็นวันอาทิตย์ ข้าวโพดในยุคเริ่มแรกนั้นเราเรียกว่า teosinte จะมีลักษณะเป็นพวง และมีลักษณะเมล็ดแหลมสั้น เพียงแค่ 5-12 เมล็ดเท่านั้น โดยมีรสชาติเหมือนมันฝรั่งที่จืดชืด ซึ่งต้นตระกูลของข้าวโพดดังกล่าวฟังดูไม่น่าดึงดูดเท่าไหร่ แต่มันประกอบไปด้วยโปรตีนที่มากกว่าข้าวโพดหวานถึง สิบเท่า

มากกว่าหนึ่งพันปี teosinte ได้กลายพันธุ์เป็นข้าวโพดซึ่งมีเมล็ดที่มากขึ้น และต่อมาได้ถูกดัดแปลงให้มีรสชาติที่หวานขึ้น มีเมล็ดที่นุ่มขึ้น การกลายพันธุ์นี้ทำให้เกิดเป็นพืชที่มีรสชาติแสนอร่อย แต่ก็ไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการอีกต่อไป

เทคนิคการทำฟาร์มหลายอย่างทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของผักและผลไม้ที่เราชื่นชอบ เช่น ลูกพีช กล้วย มะเขือยาว แครอท และอีกมากมายที่กลายพันธุ์ต่างไปจากต้นตระกูลของมัน ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปลักษณ์ รสชาติ และองค์ประกอบของสารอาหาร

การศึกษาค้นคว้าในปีค.ศ. 2004 พบว่าองค์ประกอบในอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึง 1999 และผลลัพธ์ได้เปิดเผยว่า พืช 43 ชนิดที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับ โปรตีน แคลเซียม วิตามิน บี 2 และธาตุเหล็ก เหล่านี้ เกิดการสูญหายของแร่ธาตุที่สำคัญไป การศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้มากว่า 49 ปีนั้น เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สารอาหารสูญหายไป

สิ่งที่สำคัญคือ ผู้คนชอบรสหวาน ชอบผลิตภัณฑ์จากแป้ง และนั้นคือสิ่งที่อุตสาหกรรมทางการเกษตรมอบให้กับเรา!

ด้วยการเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการเพาะปลูก ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และมลพิษอื่นๆ

เราต้องทำอย่างไร

แม้ว่าอาหารของเราจะมีปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียสารอาหารไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ผักและผลไม้ในร้านค้าหรือที่ปลูกอยู่ในสวนจะไม่มีคุณค่าทางอาหารให้กับเราเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แพทย์ส่วนใหญ่ยังแนะนำว่า เราควรได้รับสารอาหารส่วนใหญ่จากการรับประทานผักและผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม เพื่อชดเชยสารอาหารที่ขาดหายไปและได้รับสารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างเหมาะสม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญ ลองอ่านบทความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม (ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)

อีกทางหนึ่งที่จะช่วยปัญหาเรื่องการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ คือ การเพิ่มผักและผลไม้ในมื้ออาหารของเรา การสร้างสรรค์เมนูจากผักและผลไม้นั้นทำได้ง่าย แค่ใส่ผักโขมหนึ่งกำมือลงไปในเมนูสมูทตี้หลังจากที่คุณออกกำลังกาย หรือ เพิ่มผักลงในเมนูไข่ในมื้อเช้า ก็เป็นอีกทางเลือกที่จะได้รับสารอาหารที่สำคัญให้กับร่างกายเรา

รับประทานผักและผลไม้กันต่อไป! แต่เรายังคงต้องตระหนักถึงสารอาหารที่จะได้รับและความต้องการสารอาหารในแต่ละวันของเราด้วย

Fruits and Vegetables Image
  1.  “The great nutrient collapse – Politico.” 13 Sep. 2017, https://www.politico.com/agenda/story/2017/09/13/food-nutrients-carbon-dioxide-000511. Accessed 11 Mar. 2020.
  2. “Estimated Effects of Future Atmospheric CO2 Concentrations ….” 2 Aug. 2017, https://ehp.niehs.nih.gov/doi/10.1289/ehp41. Accessed 11 Mar. 2020.
  3. “Increasing CO 2 threatens human nutrition | Nature.” 7 May. 2014, https://www.nature.com/articles/nature13179. Accessed 11 Mar. 2020.
  4. “Hidden shift of the ionome of plants exposed to … – eLife.” 7 May. 2014, https://elifesciences.org/articles/02245. Accessed 11 Mar. 2020.
  5. “A Review of Some Different Effects of Air Pollution on Plants ….” https://scialert.net/fulltextmobile/?doi=rjes.2011.302.309. Accessed 17 Mar. 2020.
  6. “A Review of Some Different Effects of Air Pollution on Plants ….” https://scialert.net/fulltextmobile/?doi=rjes.2011.302.309. Accessed 11 Mar. 2020.
  7. “A Decline in the Nutritional Value of Crops – The New York ….” 15 Sep. 2015, https://www.nytimes.com/2015/09/15/science/a-decline-in-the-nutritional-value-of-crops.html. Accessed 11 Mar. 2020.
  8. “Changes in USDA food composition data for 43 garden … – NCBI.” https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15637215. Accessed 11 Mar. 2020.
  9. “What patients — and doctors — need to know about vitamins ….” 16 Mar. 2018, https://www.health.harvard.edu/blog/patients-doctors-know-vitamins-supplements-2018031613418. Accessed 11 Mar. 2020.